ปลูกดอกไม้ไว้บนภูเขา – เมื่อกวีมองคนชายขอบจากภูสูง

 

 

ในยุคเทคโนโลยีรายล้อมมนุษย์ สเตตัสนับพันหมื่นส่งผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตตลอดวัน คล้ายว่าทุกอย่างรวดเร็วและเท่าเทียม บทกวีมีที่ทางอย่างไร? กวีจำเป็นจะต้องโดดเดี่ยวตนเองเพื่อค้นหาสัจธรรมบางประการหรือไม่?

 

Read More

นักพยากรณ์กับคำทำนาย ใต้ความไร้สาระของโชคชะตา

 

 

 

ผู้พยากรณ์ (The Fortune Teller) เป็นเรื่องสั้นของนักเขียนบราซิลชั้นครู มาชาโด เดอ อัสซิส (Machado De Assis) ผู้ได้รับการยกย่องเสมอมาในฐานะนักเขียนผู้เป็นแรงผลักดันคนสำคัญ แม้ว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้หรือเรื่องอื่นๆ จะเขียนขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วก็ตาม เรื่องสั้นเรื่องนี้รวมเล่มในชื่อ ก่อนเที่ยงคืน (Midnight Mass)โดยสำนักพิมพ์หนึ่ง และมีคุณนริศรา พาเพลินเป็นผู้แปล พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553

Read More

“ชีวิตที่บรรเลง” เลียบพรมแดนวรรณกรรมจีนโพ้นทะเลในไทย

 

 

หน้าปกสีแดงสดกับลายเส้นพู่กันจีนขับเน้นให้หนังสือเล่มนี้แสดงความเป็นจีนออกมาอย่างชัดแจ้ง หากมองเผินๆ ใครหลายคนอาจนึกว่านี่คือวรรณกรรมจีนอีกเล่มหนึ่งที่มีผู้แปลมาเป็นภาษาไทย

Read More

นิทานปรัมปรากับกลเกมใน “ลำนำอตีตา”

 

 

“แต่เดิมทุกสิ่งคือ ความว่างเปล่า ปราศจากแสง ความร้อน ความเย็น มีเพียงความมืดมิดไกลสุดสายตา เกินจะคณนา ครั้นนานเข้าความมืดก็ควบตัว ระเบิดกัมปนาท สาดแสงสว่าง ก่อนแสงนั้นจะกวนเข้าหากัน ควบแน่น กำเนิดเป็นองค์มหิศร”

(Raina, 2561: 88-89)

Read More

คำบรรยายของประยูร จรรยาวงษ์ ว่าด้วยการ์ตูนและนักเขียนการ์ตูน

 

สำหรับผมถือว่าทุกอย่างอยู่ที่ความเพียร ความเพียรพยายามอย่างที่ผมเคยพูดไว้หลายครั้งแล้วว่าหัดเขียนเท้าไม่ได้ บางคนเขียนหญ้าบังเสียก็เลยเขียนเท้าไม่ได้ อีกสักยี่สิบเท้า พันเท้า หมื่นเท้า มันต้องเขียนได้เข้าวันหนึ่ง แบบที่คนหนุ่มๆ ว่า “ตื๊อเท่านั้นจะครองโลก” นั่นแหละครับ ผมใช้หลักนี้แล้วก็ทำงานวาดเขียนของผมได้สำเร็จ

– ประยูร จรรยาวงษ์
นักเขียนการ์ตูนการเมืองและการ์ตูนเรื่องยาวนิทานไทย

Read More

Kwanrapee กับการนำข้อมูลพื้นบ้านมาสร้างสรรค์การ์ตูนไทย

 

 

การ์ตูนที่นำวรรณคดีหรือวรรณกรรมมาใช้นั้นปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป ทั้งการ์ตูนรามเกียรติ์ สามก๊ก พระอภัยมณี รวมถึงนิทานพื้นบ้านอื่นๆ ด้วย การนำมาใช้ก็มีทั้งที่เล่าเรื่องเดิมด้วยจังหวะการเล่าอย่างการ์ตูน หรือจะเล่าใหม่โดยตีความเพื่อให้เข้ากับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อก็ย่อมได้

Read More

Bookshop Book in the Bookshop – อ่านเรื่องร้านหนังสือต่างแดนแล้วหันมองร้านหนังสือไทย

 

 

นักอ่านทุกคนย่อมมีร้านหนังสือในความทรงจำ อาจเป็นร้านเล็กๆ ในซอยบ้านที่เราเดินไปซื้อหนังสือด้วยเงินออมของตนเองเป็นเล่มแรก ร้านที่จัดกิจกรรมสม่ำเสมอและเปิดโอกาสให้เราได้พบปะนักเขียนนักอ่านคนอื่นๆ ร้านใหญ่เบ้อเริ่มละลานตาด้วยหนังสือที่อ่านทั้งชาติก็ไม่มีวันหมด หรืออาจเป็นร้านต่างแดนเก่าแก่และอบอุ่นสักแห่ง

Read More

วงกลมของมานิตา ใน “ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล”

รีวิวนี้ว่าด้วยเรื่องปก!

 

 

ฉันซื้อหนังสือรวมเรื่องสั้น 12 เรื่องที่ใช้ชื่อเล่มว่า “ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล” ของวิกรานต์ ปอแก้ว ออกแบบปกโดยมานิตา ส่งเสริม สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

 

ใช่แล้ว ขอสารภาพ! ฉันเริ่มต้นอ่านหนังสือเล่มนี้ก็เพราะปก ลึกๆ แล้วอยากไขความหมายของปกหน้าและปกหลังที่มานิตาออกแบบ

 

หลังจากอ่านเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง ฉันก็ค่อยๆ ปะติดปะต่อความหมายได้ พื้นที่สี่เหลี่ยมสีแดงชวนให้เรานึกถึงสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างที่มันควรจะเป็น แต่มันกลับมีด้านกว้างที่ไม่เท่ากันจนกลายเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ทว่าก็เป็นสี่เหลี่ยมคางหมูที่ไม่สมมาตร สี่เหลี่ยมที่ผิดรูปไปจากอุดมคตินี้ทำให้ฉันมองปกแล้วนึกคิดเอาว่าพื้นที่สีขาวตรงมุมขวาล่างนั้นจะต้องเคยมีพื้นที่สีแดงอยู่แต่มันได้แหว่งหายไป เช่นเดียวกับพื้นที่วงกลมสีขาวที่มุมบนซ้ายซึ่งเกิดจากการที่วงกลมสีแดงแหว่งหายไป แล้ววงกลมนั้นก็ไปปรากฏที่ปกหลัง

 

 

ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับเรื่องสั้นแต่ละเรื่องในหนังสือเล่มนี้ ตัวละครแต่ละตัวดูเหมือนว่าจะมีส่วนที่ขาดหาย แล้วก็ไปพบบางส่วนของตัวตนที่อีกฟากฝั่งหนึ่ง ซึ่งก็คือตัวละครอีกตัวหนึ่ง ราวกับเติมเต็มกัน แต่ภาวะนั้นก็มักเป็นไปเพียงชั่วคราว เหมือนวงกลมสีแดงที่หลุดหล่นออกจากพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมูสีแดงนั้น หากพลัดมาเจอกันก็เข้ากันได้สนิทและเป็นอันหนึ่งกันเดียวกันราวกับว่าเกิดมาเพื่อกันและกัน กระนั้น วงกลมสีแดงก็จะหลุดและพลัดหายไปอีก ขณะเดียวกันไม่ว่าช่องโหว่ของสี่เหลี่ยมสีแดงจะมีวงกลมสีแดงมาเติมให้เต็มหรือไม่ พื้นที่ว่างสีขาวที่มุมล่างขวาก็คือความเปล่ากลวงและขาดพร่องที่ตัวละครแต่ละตัวของวิกรานต์ประจักษ์ชัดว่าไม่อาจมีใครมาถมให้บริบูรณ์ขึ้นมาได้ 


เมื่อพิจารณาแบบอักษรที่เป็นชื่อหนังสือ ฉันพบว่า “ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล” ปรากฏทั้งแบบอักษรที่เป็นตัวปกติและตัวเอียงผสมกัน ทว่าดูสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความสูงของตัวอักษรที่ถูกควบคุมไว้ คล้ายกับชีวิตตัวละครในเรื่องที่คิดว่าตนเองตรงและชัดเจน แต่บ่อยครั้งก็กลับบิดเบี้ยวเอนเอียงและเบี่ยงเบนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ความเอนเอียงนี้ยังได้นำเสนอผ่านคำโปรยปกหลังที่ทำให้ผู้อ่านต้องเอียงคออ่านด้วย 


พิจารณาเรื่องรูปทรงแล้วก็มาพิจารณาเรื่องสีที่มานิตาใช้ คือสีขาวและสีแดง ในเรื่องสั้นแต่ละเรื่องไม่ได้ระบุถึงโทนสีต่าง ๆ ที่ชัดเจนนัก วิกรานต์ไม่ได้เน้นถึงเลือดแต่ก็กล่าวถึงบ้าง เมื่ออ่านเรื่องสั้นทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้แล้วฉันก็คาดเดาไปว่า สีแดงอาจหมายถึงเลือดและความรักอันร้อนแรง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งความรักเชิงชู้สาว หรือความรักอุดมการณ์อันแน่วแน่ก็ได้ ความรักที่วิกรานต์เขียนถึงจึงมิใช่รักหวานแหวว ไม่ใช่สีชมพูสดใส แต่มันคือสีพื้นฐานอย่างสีแดงที่เข้มข้น และชวนแสบตาในบางขณะ ทั้งยังให้ความรู้สึกรุนแรง กระตือรือร้น ส่วนพื้นที่สีขาวนั้น ฉันยังนึกไม่ออกว่าจะเชื่อมโยงความหมายอย่างไร เท่าที่พอนึกออก สีขาวก็คือพื้นที่แห่งความเดียวดายว่างเปล่าของตัวละครหลายตัวในหนังสือเล่มนี้ 


ทั้งหมดนี้คือข้อเขียนวิเคราะห์ความคิดจากปกหนังสือเป็นครั้งแรกของฉัน หากข้อเขียนนี้เป็นตุเป็นตะมากไปหรือมโนหนักก็ขอให้ถือเสียว่าเป็นจินตนาการของฉันแต่เพียงผู้เดียว และขอขอบคุณมานิตาที่ออกแบบปกแปลกๆ ให้ได้ขบคิดและค้นหาความหมา

 

 

ความโดดเดี่ยวของนักวิ่งระยะไกล

ผู้เขียน: วิกรานต์ ปอแก้ว
ออกแบบปก: มานิตา ส่งเสริม
สำนักพิมพ์: เม่นวรรณกรรม
ISBN: 9786167831077


 

นิชานันท์ นันทศิริศรณ์

นิชานันท์ นันทศิริศรณ์

สนใจการอ่านเขียน แต่อ่านน้อย และเขียนน้อยยิ่งกว่าอ่าน เวลาเครียดชอบล้างจาน

ชีวิตประนีประนอมของศิลปินนักบดอัดกระดาษใน “ความเปลี่ยวดายอันกึกก้องเกินต้าน”

เรื่องราวชีวิตของ “ฮัญจา” ผู้มีหน้าที่บดอัดกระดาษมาตลอด 35 ปี ได้เริ่มขึ้นและจบลง ณ จุดเดิม ราวกับว่าฮราบัลยังไม่ได้ให้ตัวละครฮัญจาทำอะไรสักนิดนอกจากสิ่งเดิม ๆ ในชีวิตประจำวันของตน

Read More
error: